วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

Java Servlet คืออะไร?



ก่อนอื่นก็ต้องพูดถึงการเขียน Web ก่อนนะครับ ในการทำ web site สักเว็บนึง ก็ต้องมีหลาย web page ครับ ซึ่งก็ต้องมีวิธีการส่งค่าระหว่าง web page ครับ อย่างเช่น อยากส่ง username , password ไปให้อีกหน้าหนึ่งเพื่อเช็คว่ามีในฐานข้อมูลหรือไม่ อะไรประมาณนี้

ถ้าลองสังเกตกันดีๆ เวลาเราเล่นเว็บปกติ อาจจะมีอะไรที่ยืดๆยาวๆในช่อง URL ของเรา เช่น ..../loginAction.do?username=boonoom&title=bloggerหรืออะไรทำนองนี้ เครื่องหมาย "?" เป็นการบอกว่าข้างหลังมันคือ parameter นั่นเอง ในที่นี้มี parameter ชื่อ username ที่มีค่า boonoomและ title มีค่า blogger

การที่เราจะสามารถส่งค่าในลักษณะนี้ได้ สำหรับ HTML แล้ว เราสามารถทำได้โดยการ submit ที่อยู่ภายใต้แท็ก form มา ดังนี้




<form action="webpage2.php" method="GET">
<input name="ID" type="text">
<input name="submit" type="submit" value="Submit Query">
</form>

จากโค้ดตัวอย่างนี้ เมื่อกด submit แล้ว จะมีการเรียก webpage2.php โดยมี parameter ชื่อ ID พร้อมค่าที่ส่งลงไป [สมมุติว่าใส่ "aaaaa" url ของเราก็จะเป็น ..../webpage2.php?ID=aaaaa ครับ ซึ่งการกำหนด method ใน form ดังตัวอย่างนี้เป็นแบบ GET คือแสดงให้เป็นกับ url ครับ ถ้าเราเปลี่ยนเป็น



<form action="webpage2.do" method="POST">
<input name="ID" type="text">
<input name="submit" type="submit" value="Submit Query">
</form>

การแสดงพารามิเตอร์ที่ url จะไม่แสดงครับ คือแสดงแค่ .../webpage2.php แต่เราก็สามารถเรียกใช้ได้เหมือนเดิม


สำหรับการเรียกใช้ parameter ในภาษา PHP จะสามารถเรียกได้โดยใช้ตัวแปร GET หรือ POST ขึ้นอยู่กับการกำหนด method ใน HTML ก่อนหน้านี้ครับ
1
2
//Display parameter ID
echo $GET['ID'];

หรือ
?
1
2
//Display parameter ID
echo $POST['ID']

จะเห็นว่าในภาษา PHP นั้นจะดึงค่า parameter มาเห็นตัวๆ ต่างจาก Java Servlet ซึ่งเป็นการทำโดยใช้ function เมื่อมีการส่งค่ามา จะมี function ชื่อ doGet() และ doPost() ซึ่งถ้ามีการส่งค่ามาแบบ GET ก็จะเข้า function doGet() ถ้าส่งแบบ POST ก็เข้า doPost() ซึ่งอาจให้ทั้ง 2 ฟังก์ชันนี้ทำงานเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

เยิ่นเย้อซะนาน มาถึงช่วงคำตอบว่า Java Servlet คืออะไร?? จะว่าง่ายๆ มันก็คือ การทำ Web Application ด้วยภาษา Java ซึ่ง Java Servlet มักจะทำงานร่วมกับ JSP (Java Server Pages) ที่เป็นภาษา HTML+JAVA มักจะใช้ในส่วนการแสดงผล และหากต้องการคำนวณอะไรบางอย่าง ก็จะส่งค่าไปยัง Java Servlet ให้ทำให้และส่งค่ามาแสดงผลอีกครั้ง

ส่วนของ JSP แสดง textbox และปุ่ม submit
?
1
2
3
4
5
<% String context = request.getContextPath(); %>
<form action="<%=context%>/Servlet" method="GET">
<input name="ID" type="text">
<input name="submit" type="submit" value="Submit Query">
</form>

ส่วนของ Servlet ผมตั้งชื่อไฟล์ว่า Servlet.java แต่ตอนเราเรียกไม่ต้องใส่ .java ตามเพราะ code ของเราจะถูก compile ไป ถ้าใครใช้ Editor พวก Eclipse หรือ Netbeans จะมีการ generate source code ส่วนอื่นๆให้เอง ซึ่งส่วนมากจะสร้างให้ doGet(),doPost() เรียกใช้อีก Function หนึ่ง ทำให้เราง่ายต่อการแก้ไข ในตัวอย่างนี้ทำงานเหมือนโค้ดก่อนหน้า คือรับพารามิเตอร์และแสดงผล
?
1
2
3
String id = request.getParameter("ID");
//Display in console
System.out.println(id);

แล้วมันต่างจาก PHP ยังไง? การทำงานของ Java Servlet จะดูเป็นสัดส่วนมากกว่า ถ้าเป็น php การเขียนโปรแกรมก็จะเป็น php <-> php โดยโปรแกรมเมอร์ก็ต้องจำเองว่าไฟล์ไหนคืออะไร อย่างดีก็คือสร้าง folder เพื่อช่วยจำ แต่ Java Servlet จะเป็นการส่งค่าระหว่าง jsp <-> java ซึ่งแยกส่วนแสดงผลและส่วนการทำงานชัดเจน ประกอบกับความ Security ที่สูงกว่า php องค์กรใหญ่ๆมักจะใช้กัน แต่ถ้าในวงการเว็บ ส่วนมากก็จะใช้ php มากกว่าเพราะทำงานได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า และ php ก็เช่า web hosting ได้ในราคาถูกกว่า servlet มาก



วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Chatbot introduction

เกี่ยวกับ Chatbot

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นทาง Website หรือ Social media ต่าง ๆ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Machine Learning หรือ Artificial Intelligence (AI) ทำให้ Chatbot เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารของมนุษย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงธุรกิจ หรือสังคม ซึ่งในปัจจุบัน Chatbot ได้ถูกนำเอาไปประยุกต์ใช้ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างแพร่หลาย อาทิ การสื่อสารข้อมูลของสำนักข่าวในรูปแบบของการสนทนาออนไลน์ผ่านการ Chat กับ Bot ของสำนักข่าว การซื้อ – ขายสินค้าออนไลน์ในรูปแบบของการสนทนากับ Chatbot ของร้านค้า และการให้บริการข้อมูลกับลูกค้าบนช่องทางออนไลน์ในรูปแบบของการสนทนาผ่าน Chatbot ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งการสื่อสารผ่านตัวอักษรและผ่านเสียงพูดอย่างระบบ Call Center หรือแม้กระทั่งการสื่อสารภายในองค์กรก็สามารถนำเอา Chatbot ไปประยุกต์ใช้งานได้เช่นเดียวกัน

คุณสมบัติสำคัญของ Chatbot ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจนั้น มีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการบริการที่เราสามารถควบคุมคุณภาพของการบริการได้ สามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสร้างความน่าสนใจ ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เกิดความสนใจในการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจได้อีกด้วย ซึ่งนอกเหนือจากประโยชน์ในมุมที่กลุ่มลูกค้าจะได้ความพึงพอใจในการบริการแล้ว Chatbot ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงความสนใจความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

Chatbot Applications


รายละเอียดเชิงลึก

Chatbot Application เป็นบริการพัฒนาระบบ Chatbot แบบครบวงจร โดยประกอบด้วย
  1. แอปพลิเคชันที่ใช้ในการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application, Web Application, หรือ Social / Chat platform integration (Facebook Messenger, Line)
  2. ระบบ Chatbot API services สำหรับประมวลผลคำถาม และประเมินหาคำตอบที่เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของคำถาม
  3. การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบคำถามของ Chatbot
  4. ระบบสำหรับการ Train Chatbot และการบริหารจัดการข้อมูล Knowledge ที่เหมาะสม (Chatbot Training Portal) เพื่อให้ Chatbot สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ระบบเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลประวัติการโต้ตอบของ Chatbot กับผู้ใช้งาน (Chat log analytics) ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม ความต้องการของผู้ใช้งาน ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนา Chatbot ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจอย่างครบวงจรในทุกมิติต่อไป

การทำงาน

Chatbot Application ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application, Web Application, หรือ Social / Chat platform อย่าง Facebook Messenger หรือ Line จะทำหน้าที่สนทนาโต้ตอบกับผู้ใช้งาน โดยมี Chatbot API services ทำหน้าที่ประมวลผลคำถาม และหาคำตอบจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดย Chatbot จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามขอบเขตของ Knowledge ที่ถูกใช้ในการ Train Chatbot ซึ่งการสนทนาโต้ตอบกับ Chatbot แต่ละครั้ง จะถูกเก็บบันทึกเป็นสถิติ เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานและเพื่อใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Chatbot ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ 

Chatbot Applications ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ให้ข้อมูล และบริการลูกค้า ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของการบริการที่เราสามารถควบคุมคุณภาพของการบริการได้ สามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสร้างความน่าสนใจ ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เกิดความสนใจในการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจอีกด้วย ซึ่งนอกเหนือจากประโยชน์ในมุมที่กลุ่มลูกค้าจะได้ความพึงพอใจในการบริการแล้ว Chatbot ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ตัวอย่างการนำไปใช้

Chatbot on Facebook Messenger for online news

Chatbot สำหรับอัปเดตข่าวสารออนไลน์

Chatbot API Services

รายละเอียดเชิงลึก 

Chatbot API Services เป็นบริการระบบประมวลผลคำถาม และประเมินหาคำตอบสำหรับ Chatbot โดยประกอบด้วย
  1. ระบบ Chatbot API services สำหรับประมวลผลคำถาม และประเมินหาคำตอบที่เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของคำถาม
  2. การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบคำถามของ Chatbot
  3. ระบบสำหรับการ Train Chatbot และการบริหารจัดการข้อมูล Knowledge ที่เหมาะสม (Chatbot Training Portal) เพื่อให้ Chatbot สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงาน

Chatbot API Services จะทำงานร่วมกับ Chat application ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application, Web Application, หรือ Social / Chat platform โดยเชื่อมต่อผ่าน API services เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลคำถาม และหาคำตอบจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยจะสามารถทำงานได้ตามขอบเขตของ Knowledge ที่ถูกใช้ในการ Train Chatbot ซึ่งการสนทนาโต้ตอบผ่าน Chatbot API Services แต่ละครั้ง สามารถเก็บบันทึกเป็นสถิติ เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานและเพื่อใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Chatbot ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปได้

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ

Chatbot API Services จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Chatbot Application ของคุณในการสื่อสาร ให้ข้อมูล และบริการลูกค้า ทำให้ Chatbot Application ของคุณสามารถโต้ตอบและสนทนากับผู้ใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความพึงพอใจ และช่วยดึงดูดลูกค้าให้เกิดความสนใจในการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจมากขึ้นด้วย ซึ่งนอกเหนือจากประโยชน์ในมุมที่กลุ่มลูกค้าจะได้ความพึงพอใจในการบริการแล้ว Chatbot API Services สามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจถึงความสนใจ และความต้องการของลูกค้า จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการสนทนาผ่าน Chatbot API Services เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าต่อไป

ตัวอย่างการนำไปใช้

Chatbot API services for an online store / e-commerce chatbot application

Chatbot API services สำหรับเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูลสินค้า และรองรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

Chatbot API services for CRM application

Chatbot API services สำหรับเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูล และให้บริการกับลูกค้า เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการลูกค้าออนไลน์

Chatbot API services for human resource management services application

Chatbot API services สำหรับเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน วันหยุด วันลา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

Chatbot API services for healthcare application

Chatbot API services สำหรับเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูลด้านสุขภาพ

Chat Log Analytic

รายละเอียดเชิงลึก

Chatbot Training Portal เป็นระบบสำหรับแอดมินหรือผู้ดูแลระบบ เพื่อใช้ในการ Train Chatbot เพื่อกำหนดขอบเขตรูปแบบการตอบคำถามหรือการโต้ตอบของ Chatbot และเป็นระบบสำหรับบริหารจัดการข้อมูล Knowledge จากส่วนต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้ Chatbot สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงาน

Chatbot Training Portal เป็นระบบสำหรับแอดมินหรือผู้ดูแลระบบ เพื่อใช้ในการ Train Chatbot เพื่อกำหนดขอบเขตรูปแบบการตอบคำถามหรือการโต้ตอบของ Chatbot โดยอยู่ในรูปแบบของ Web portal ที่จะทำงานร่วมกับ Chatbot API Services ในการจัดการ Knowledge และข้อมูลสำหรับประมวลผลหาคำตอบที่เหมาะสม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้งาน Chatbot Application

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ

Chatbot Training Portal ทำหน้าที่ช่วยบริหารจัดการ Knowledge และข้อมูลที่จะใช้ในการตอบคำถาม หรือสนทนาโต้ตอบของ Chatbot รวมไปถึงการกำหนดขอบเขตของคำถาม หรือบทสนทนาของ Chatbot ซึ่งเป็นข้อมูลที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น Chatbot Training Portal จึงเป็นระบบสำคัญที่ช่วยในการบริหารจัดการ Knowledge และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่ซับซ้อน เพื่อให้ Chatbot สามารถสนทนา โต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าต่อไป

ตัวอย่างการนำไปใช้

Chatbot Training Portal for an online store / e-commerce chatbot

Chatbot Training Portal สำหรับอัพเดตข้อมูลสินค้า และบริหารจัดการขอบเขตการโต้ตอบของ Chatbot เพื่อให้ข้อมูลสินค้า และรองรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Chatbot Training Portal for CRM chatbot

Chatbot Training Portal สำหรับอัพเดตข้อมูลคำตอบ และบริหารจัดการขอบเขตการโต้ตอบของ Chatbot เพื่อให้ข้อมูล และให้บริการกับลูกค้า เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการลูกค้าออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

Chatbot Training Portal for human resource management services chatbot

Chatbot Training Portal สำหรับอัพเดตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน และบริหารจัดการขอบเขตการโต้ตอบของ Chatbot เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน วันหยุด วันลา และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานของบริษัท
Chatbot Training Portal for healthcare application
Chatbot Training Portal สำหรับอัพเดตข้อมูลด้านสุขภาพ และบริหารจัดการขอบเขตการโต้ตอบของ Chatbot เพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพกับบุคคลทั่วไป

Chatbot on Line for an online store / e-commerce chatbot

Chatbot สำหรับให้ข้อมูลสินค้า และรองรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

Chatbot on a website for CRM

Chatbot สำหรับให้ข้อมูล และให้บริการกับลูกค้า เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการลูกค้าออนไลน์

Chatbot on internal portal for human resource management services

Chatbot สำหรับให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน วันหยุด วันลา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

Chat Log Analytic

รายละเอียดเชิงลึก

Chat Log Analytic เป็นระบบเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลประวัติการสนทนา โต้ตอบระหว่าง Chatbot กับผู้ใช้งาน ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม ความต้องการของผู้ใช้งาน ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนา Chatbot ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจอย่างครบวงจรในทุกมิติต่อไป

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ

ข้อมูลสถิติการสนทนา โต้ตอบระหว่าง Chatbot กับผู้ใช้งาน ที่ถูกเก็บและบันทึกจาก Chat Log จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา Chatbot ให้มีประสิทธิภาพและขอบเขตที่ครอบคลุม ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจอย่างครบวงจรในทุกมิติต่อไป

การทำงาน

การโต้ตอบและสนทนาระหว่างผู้ใช้งานกับ Chatbot Application ผ่าน Chatbot API services จะมีการเก็บบันทึกเป็นสถิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานและเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Chatbot ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ตัวอย่างการนำไปใช้

Chat Log Analytic for an online store / e-commerce chatbot

เก็บข้อมูลสถิติการถาม-ตอบ และการสนทนาระหว่างลูกค้ากับ Chatbot เพื่อสอบถาม หรือสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนา Chatbot ให้มีประสิทธิภาพ สามารถโต้ตอบและสนทนากับลูกค้า ให้ข้อมูลสินค้า และการสั่งซื้อได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

คัดลอกมาจาก https://www.g-able.com/products/chatbot/

Chat Log Analytic for CRM chatbot

เก็บข้อมูลสถิติการถาม-ตอบ และการสนทนาระหว่างลูกค้ากับ Chatbot ในการให้บริการลูกค้า เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนา Chatbot ให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการลูกค้า และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

Chat Log Analytic for human resource management services chatbot

เก็บข้อมูลสถิติการถาม-ตอบ และการสนทนาระหว่างพนักงานกับ Chatbot เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ศึกษาพฤติกรรมของพนักงาน ประเมิน engagement หรือการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานกับองค์กร รวมไปถึงเพื่อพัฒนาปรับปรุงสวัสดิการ ให้ตอบโจทย์ของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น

Chat Log Analytic for healthcare application

เก็บข้อมูลสถิติการถาม-ตอบ และการสนทนาระหว่างคนทั่วไปกับ Chatbot เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ศึกษาพฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลทั่วไป